ครูลูกชาวนา นำข่าวดีๆมานำเสนอครับ ปี 2563 ให้ส่วนราชการ (สพฐ./สอศ. เป็นต้น) เป็นผู้จัดทำข้อสอบ ตามแนวทางของ ก.พ. ใน ปี 2564 หาก ก.พ. จัดการสอบภาค ก หาก ก.พ. มีความพร้อม ให้ทำการสอบรวมกับข้าราชการอื่น อ่านต่อได้เลยครับ
หลักเกณฑ์การสอบ “ครูผู้ช่วย” รอบทั่วไป ปี 2563 ———————————————— วันนี้ 25 เมษายน 2564 ได้ทราบข้อมูลจากผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ให้การยืนยัน ดังนี้ 1. ก.ค.ศ. มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ใหม่ แล้ว รอรับรองรายงานการประชุมเดือนหน้า (พ.ค.63) แล้วแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ 2. ปี 2563 ให้ส่วนราชการ (สพฐ./สอศ. เป็นต้น) เป็นผู้จัดทำข้อสอบ ตามแนวทางของ ก.พ. 3. ปี 2564 หาก ก.พ. จัดการสอบภาค ก หาก ก.พ. มีความพร้อม ให้ทำการสอบรวมกับข้าราชการอื่น ทั้งนี้ ได้ฝากความห่วงใย ความเดือดเนื้อร้อนใจของบัณฑิตครู และขอให้พิจารณาในรายละเอียด หลายประการ เช่น 1. สัดส่วนโครงสร้างคะแนนการสอบภาคต่าง ๆ. 2. ความรัดกุมของการสอบโดยเฉพาะภาค ค 3. คุณลักษณะของข้อสอบ ควรมีความเหมาะสมแก่การคัดเลือกคนไปเป็นครู 4. ควรมีความชัดเจน ไม่สร้างความสับสนในกระบวนการสอบ โดยเฉพาะภาค ค 5. ควรแระกาศล่วงหน้า ก่อนจะนำมาใช้ 6. ฯลฯ ———————————————- และวันนี้ ได้ให้คำแนะนำ บัณฑิตครู หากยังคงกังวล เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ผู้ได้รับผลกระทบสามารถร้องเรียน นายกรัฐมนตรี ในช่องทางต่าง ๆ หรือร้องเรียน กระทรวงศึกษาธิการ และ ก.ค.ศ. โดยตรง ส่วน กมธ.การศึกษา ได้รับเรื่องเสนอให้เชิญ ก.ค.ศ. ศธ. มาหารือเพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์ ประธาน กมธ.ได้รับเรื่องแล้ว และจะมีการบรรจุเข้าวาระเมื่อการเปิดประชุมสมัยหน้าต่อไป (เปิด 22 พ.ค.63) ข้อมูลเดิม ข้อมูลจากผู้บริหารระดับสูงใน สำนักงาน ก.ค.ศ. เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุ “ครูผู้ช่วย” รอบทั่วไป 1. การสอบแข่งขันจัดโดยส่วนราชการ เช่น สพฐ./สอศ./สป. มีหน้าที่ กำหนดปฏิทินเกี่ยวกับการสอบ จัดจ้าง/ทำข้อสอบ ภาค ก และ ข กำหนดเกณฑ์การใช้คะแนนภาค ค 2. กศจ. เป็นดำเนินการสอบ ภาค ก และ ข (ประกาศรับสมัครจนถึงประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบภาค ค) เก็บบัญชีรายชื่อไว้ ประกาศตามลำดับคะแนนภาค ก และ ข รวมกัน 3. การสอบภาค ค จะมีคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นโดย กศจ. ประกอบด้วย ผอ.หรือผู้ได้รับมอบหมาย กก.ภายใน รวม 3 คน และภายนอก 2 คน ดำเนินการสอบสอนและอื่น ๆ ตามเกณฑ์คะแนน (Rubic Score) การสอบสอนให้ถ่ายทำวีดิทัศน์ไว้ด้วย การตัดสินนำคะแนนภาค ก และ ข มารวมกับภาค ค แล้วจัดเรียงตามลำดับแล้วสั่งบรรจุแต่งตั้ง 4. กศจ. จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบภาค ค จำนวน 5 เท่าของอัตราว่างที่จะบรรจุ ผู้มีชื่ออาจสละสิทธิ์จะไม่เข้าสอบก็ได้ โดยไม่เสียสิทธิ์การเข้าสอบครั้งต่อไป รวมทั้ง ผู้มีสิทธิ์ได้เข้าสอบแต่ไม่อยู่ในลำดับที่ได้บรรจุ ยังมีสิทธิ์ที่จะได้เข้าสอบภาค ค ในโรงเรียนอื่นที่มีการสอบภายหลัง 5. สัดส่วนคะแนน ในแต่ละภาค ก ข และ ค ภาคละ 100 คะแนนเท่ากัน รวม 300 คะแนน
ขอบคุณที่มาของข้อมูล :เพจ สุรวาท ทองบุ
Comments